"โพรไบโอติก" เเต่ละสายพันธ์ช่วยเรื่องอะไรบ้าง

Last updated: 7 มิ.ย. 2567  |  572 จำนวนผู้เข้าชม  | 

"โพรไบโอติก" เเต่ละสายพันธ์ช่วยเรื่องอะไรบ้าง

"โพรไบโอติก" เเต่ละสายพันธ์ช่วยเรื่องอะไรบ้าง

หลายๆคนคงรู้จักโพรไบโอติกกันเเล้วใช่ไหมคะ เพราะบทความก่อนหน้านี้ก็เขียนไปเยอะแล้วเกี่ยวกับโพรไบโอติก เเต่รอบนี้เรามาเจาะลึกข้อมูลของโพรไบโอติกที่ลายๆคนอาจจะยังไม่รู้กันดีกว่าค่ะ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกกินโพรไบโอติกให้เหมาะสมกับร่างกายของเรา

Probiotic โพรไบโอติก
เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถพบได้ในร่างกาย ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร สร้างเกราะป้องกันบริเวณเยื่อบุลำไส้ กระตุ้นระบบการย่อยอาหารในร่างกายจากการสร้างเอมไซม์ รวมถึงช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป

Prebiotic พรีไบโอติก
สิ่งมีชีวิตที่ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายและดูดซึมได้ แต่สามารถย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์โพรไบโอติก ทำให้โพรไบโอติกเติบโต กล่าวคือ พรีโบโอติกเป็นอาหารของโพรไบโอติกนั่นเอง พรีไบโอติกพบได้ใน ถั่วเหลือง ถั่วดง กระเทียม หัวหอม ไฟเบอร์จากผักผลไม้ เป็นต้น

Synbiotic ซินไบโอติก

การนำโพรไบโอติก ที่เป็นจุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้ และพรีไบโอติกซึ่งเป็นแหล่งใยอาหารของ Probiotics ผสานเข้าด้วยกันจึงช่วยเสริมฤทธิ์ ทำให้การทำงานของ Probiotics เพิ่มขึ้นนั่นเอง เมื่อรวมโปรไบโอติกและพรีไบโอติกไว้ในผลิตภัณฑ์อาหารเดียวกัน เราเรียกผลิตภัณฑ์นั้นว่าผลิตภัณฑ์ ที่มี “ซินไบโอติก” ซึ่งหมายความว่าหากใส่แต่โพรไบโอติก จะไม่สามารถเรียกว่าสูตรซินไบโอติกได้ ต้องมีการผสานเข้ากับพรีไบโอติกด้วย

ประโยชน์ของโพรไบโอติก

1. สร้างสมดุลให้ระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย
โพรไบโอติกส์สามารถป้องกันและบรรเทาได้ทั้งอาการท้องเสียและท้องผูก เป็นตัวช่วยในการสร้างสมดุลให้ระบบย่อยอาหารและการขับถ่ายของร่างกาย โพรไบโอติกส์กลุ่มแลคโตบาซิลลัส ช่วยลดการอักเสบของลำไส้ ปรับสภาพของระบบทางเดินอาหารให้กลับมาสู่สภาวะปกติได้
 
2. กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย
โพรไบโอติกส์สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ การมีโพรไบโอติกส์ในระบบทางเดินอาหารที่เพียงพอจะเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายป้องกันการติดเชื้อได้มากยิ่งขึ้น ลดการติดเชื้อในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ลดการติดเชื้อในบริเวณปอด เพิ่มภูมิคุ้มกันในลำไส้และกระแสเลือด
 
3. รักษาบรรเทาโรคกระเพาะ
การใช้โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ร่วมกันจะสามารถป้องกันและบรรเทาโรคในระบบทางเดินอาหารได้ โรคกระเพาะก็เช่นกัน ด้วยวิธีนี้จะสามารถป้องกันโรคกระเพาะและและกรดไหลย้อนซึ่งเป็นโรคในกลุ่มทางเดินอาหารที่มักจะพบร่วมกันได้

4. ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
แบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่มีโอกาสสร้างสารก่อมะเร็งหรือเป็นตัวร่วมในการก่อมะเร็งได้ สารในกลุ่มไนโตรเจนและอะโรมาติคเอมีนจากอาหารประเภทไขมันและเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถเพิ่มขึ้นจากสะสมของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ได้ การมีโพรไบโอติกส์จะช่วยเปลี่ยนสภาพแบคทีเรียในลำไส้ ป้องกันการเกิดสารดังกล่าวได้
 
5. ลดอาการอักเสบและภูมิแพ้
การมีโพรไบโอติกส์ในร่างกายที่เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้นกันต่อการติดเชื้อได้ดี โพรไบโอติกส์จะช่วยปรับสภาพภูมิคุ้มกันในร่างกาย ลดอาการอักเสบ ช่วยให้ปัญหาภูมิแพ้ลดลง แก้อาการภูมิแพ้ มีน้ำมูก ผื่นคัน หอบหืด หรือบรรเทาอาการเรื้อรังของโรคภูมิแพ้ได้
 
6. ช่วยเรื่องระบบทางเดินปัสสาวะ
แบคทีเรียแลคโตบาซิลลัสช่วยลดการอักเสบติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนปลาย ลดการสะสมของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคปัสสาวะอักเสบ รวมถึงป้องกันปัญหาการติดชื้อในช่องคลิดและปากช่องคลอดของผู้หญิงที่เป็นส่วนให้เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบอีกด้วย

วิธีกินโพรไบโอติกอย่างปลอดภัย

โพรไบโอติกกินตอนไหน

ควรกินโพรไบโอติกก่อนมื้ออาหาร 30 นาที หรือก่อนนอนห่างจากมื้ออาหาร 30 นาที ขึ้นไป เนื่องจากโพรไบโอติกจะถูกทำลายได้ด้วย น้ำย่อย แอลกอฮอล์ หรือยาฆ่าเชื้อต่างๆ หากกินช่วงก่อนอาหารกระเพาะจะมีความเป็นกรดต่ำ ส่งผลให้โพรไบโอติกถูกทำลายจากน้ำย่อยลดลง

ควรกินโพรไบโอติกปริมาณเท่าไหร่

ปริมาณโพรไบโอติกที่ควรได้รับต่อวันคือ ตั้งแต่ 10-20 พันล้านตัวต่อวัน หรืออย่างต่ำ 10,000 ล้าน CFU โดย CFU คือ หน่วยที่ใช้ตรวจปริมาณจุลินทรีย์ที่อยู่ในสินค้าและอาหารไม่ว่าจะเป็น นมเปรี้ยว หรือ อาหารเสริม 

กินไพรไบโอติกมากไป ส่งผลอะไรไหม
-การรับประทานโพรไบโอติกมากเกินความจำเป็นต่อร่างกายในแต่ละวัน อาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ เช่น
-เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
-เกิดผื่นคันตามผิวหนัง
-เกิดอาการปวดหัว จากสารเอมีน (Amines)
-เกิดอาการต้านยาปฎิชีวนะ
-เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ

หากรับประทานโพรไบโอติกส์แล้วมีอาการ หรือปฏิกริยา ควรหยุดรับประทานทันที และควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอาการต่อไป

รวม 8 ชนิดโพรไบโอติก ช่วยเรื่องอะไรบ้าง

1. Lactobacillus rhamnosus GG (LGG) เป็นโพรไบโอติกที่สามารถยึดเกาะชั้นเยื่อบุผิวของลำไส้ได้นาน ช่วยป้องกันการติดเชื้อของทางเดินอาหาร กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันป้องกันอาการแพ้ ลดการอักเสบของผิว ลดความถี่การเกิดท้องเสีย

2. Bifidobacterium lactis (B. lactis)โพรไบโอติกที่มีหน้าที่ช่วยย่อยสลายโดยเฉพาะน้ำตาลไฟเบอร์ กระตุ้นการทำงานระบบภูมิคุ้มกัน ยับยั้งเชื้อโรค ลดอาการท้องผูก และป้องกันไม่ให้ท้องเสีย โพรไบโอติกชนิดนี้บางทีถูกใช้รักษาโรคในเด็กทารก, โรคลำไส้แปรปรวน

3. Lacticaseibacillus paracasei (L. paracasei) เป็นโพรไบโอติกที่ช่วยย่อยและดูดซึมสารอาหาร ทำให้กระบวนการเผาผลาญดำเนินไปอย่างปกติ ช่วยรักษาโรคไข้หวัด ผื่นภูมิแพ้ อาการหอบหืด ลดอาการท้องผูก

4. Bifidobacterium breve (B. breve) โพรไบโอติกช่วยย่อยและดูดซึม กระตุ้นการทำงานของกระบวนการเผาผลาญดำเนินไปอย่างปกติ เพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุให้ดีขึ้น ลดอาการอักเสบทั่วร่างกายช่วยลดความเสื่อมของเซลล์สมอง ป้องกันอาการอัลไซเมอร์ อาการภูมิแพ้ และหอบหืด

5. Lactobacillus acidophilus (L.acidophilus) มีหน้าที่เหมือนโพรไบโอติกอื่นๆ เป็นแบคทีเรียชนิดดีที่ถูกมาใช้เพื่อรักษาอาการท้องเสีย โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ลดการอักเสบของกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อโรค H.pylori

6. Bifidobacterium bifidum (B.bifidum)โพรไบโอติก พบโดยเฉพาะเด็กทารกที่ทานนมแม่ เป็นโพรไบโอติกที่ถูกมาใช้ลดความเสี่ยงโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ,โรคระบบทางเดินหายใจ อาการผื่นแพ้ ท้องผูก ท้องเสีย เสริมสร้างระบบคุ้มกัน

7. Bifidobacterium Longum ( B.longum) เป็นโพรไบโอติกที่ช่วยย่อยสลายอาหารโดยเฉพาะพวกน้ำตาล รวมถึงแลคโทสด้วย เป็นโพรไบโอติกที่ช่วย ป้องกันท้องผูก ลดระยะเวลาท้องเสีย และป้องกันคอเรสเตอรอลในเลือดสูง ลดอาการของโรคลำไส้แปรปรวน IBS

8. Lactobacillus gasseri(L_.gasseri) เป็นโพรไบโอติกที่ช่วยลดอาการเหนื่อยล้า เพิ่มคุณภาพการนอน ลดอาการท้องผูกจากความเครียด เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการเผาผลาญ

ข้อสรุปเกี่ยวกับจุลินทรีย์และโพรโบโอติก ทำไมถึงสำคัญกับร่างกาย!

1. เหล่าจุลินทรีย์อาศัยอยู่หลากหลายบริเวณของร่างกายมนุษย์ได้แก่ลำไส้ใหญ่ ปาก ช่องคลอด กระเพาระปัสสาวะ ผิวหนัง ปอด

2. จุลินทรีย์ในร่างกายมีเป็นล้านล้านชนิด ซึ่งประกอบด้วยแบคทีเรีย เชื้อรา โปโตชั่ว ไวรัส

3. จุลินทรีย์ในร่างกายมีทั้งจุลินทรีย์ชนิดดี และไม่ดี จุลินทรีย์ชนิดดีเรียกว่า "โพรไบโอติก" ซึ่งเกิดเองโดยธรรมชาติ เเละการทานเข้าไป

4. ในแต่ละวันระบบทางเดินอาหารถือเป็นอวัยวะส่วนแรกที่สัมผัสกับสิ่งภายนอกนั่นคืออาหาร ดังนั้นจุลินทรีย์ชนิดดีๆ หรือความสมดุลของระบบนิเวศน์บริเวณนี้มีโอกาสถูกทำร้ายมากที่สุดเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น

5. คนเราหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ก็ไม่เหมือนกัน

6.ยาปฏิชีวนะและยาบางชนิด ของหวาน อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป ความเครียด ยาฆ่าแมลงเป็นต้น ทำลายความสมดุลของระบบ

7. ยิ่งอายุเพิ่มขึ้น ปริมาณจุลินทรีย์ชนิดดีๆยิ่งลดลง โอกาสเกิดโรคเลยเพิ่มขึ้น

8. เมื่อเสียสมดุลจุลินทรีย์ หมายความว่า มีปริมาณจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีมากเกินไป หรือชนิดดีลดน้อยเกินไป

9. จุลินทรีย์ชนิดดี หรือที่เรียกว่าโพรไบโอติก แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ Lactobacillus และ Bifidobacterium ซึ่งใน 2 กลุ่มใหญ่นี้ยังแบ่งออกเป็นชนิดย่อยๆอีกหลายชนิด

10. เมื่อเสียสมดุลจุลินทรีย์ ตัวอย่างโรคที่ตามมาได้แก่ ภูมิแพ้ ท้องผูก ท้องเสียต่อเนื่อง อ้วน ไขมันพอกตับ อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ โรคหลอดเลือดและหัวใจ เพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็ง ความจำเสื่อม

รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญฟรี
Line : https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
Inbox : m.me/BioSynThailand
Youtube : https://bit.ly/3Fyj83C

เรียบเรียง : BioSyn Thailand
เครดิต : https://shorturl.asia/clTdp
https://shorturl.asia/Jxy3H
https://shorturl.asia/Uf5it

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้