หัวใจ ลำไส้ ใกล้กันนิดเดียว เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงโรคหัวใจ ด้วยการดูแลลำไส้

Last updated: 7 มิ.ย. 2567  |  450 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หัวใจ ลำไส้ ใกล้กันนิดเดียว เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงโรคหัวใจ ด้วยการดูแลลำไส้

หัวใจ ลำไส้ ใกล้กันนิดเดียว เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงโรคหัวใจ ด้วยการดูแลลำไส้

ไบโอซินเป็นโพรเเละพรีไบโอติกที่สะกัดมาจากพืช เเละไฟเบอร์จากผลไม้ มีใยอาหาร เเละใยอาหาร ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ปรับสมดุลลำไส้ เเละลดคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ถ้าคอเลสเตอรอลในเลือดสูงก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้นั่นเอง

คุณสมบัติหลักของใยอาหารที่มีต่อร่างกาย
ไบโอซินเป็นโพรเเละพรีไบโอติกที่สะกัดมาจากพืช เเละไฟเบอร์จากผลไม้ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลไขมันในเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ใยอาหารที่ละลายน้ำสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและตับ ใยอาหารที่ให้ผลนี้ คือ เพคติน ไซเลียม (Psyllium) ชนิดต่างๆ เช่น กัวกัม (guar gum) และ บีนกัม (bean gum) เมื่อสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมได้ ก็จะสามารถ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ได้อีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ทั้งนี้ การรับประทานใยอาหารในข้าวโอ๊ตและเบต้ากลูแคนในปริมาณ 3-15 กรัมต่อวัน จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ประมาณ 5-15% (จะเห็นได้ชัดในผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง) ส่วนใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ เช่น เซลลูโลส และรำข้าวสาลี (wheat bran) จะไม่มีผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

คนที่กินอาหารที่มีกากใยสูงอยู่เป็นประจำ มีแนวโน้มที่จะมีจุลินทรีย์ดีที่สร้างสารกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อเรียกรวม ๆ กันว่า กรดไขมันสายสั้น หรือ short-chain fatty acids กรดไขัมสายสั้นหลายชนิดนี้ พบว่า สามารถช่วยให้หลอดเลือดของเราขยายตัวได้ดีขึ้น ซึ่งมีผลช่วยลดความดันเลือดในคนที่มีปัญหาความดันโลหิตสูงได้ นอกเหนือไปจากอาหารที่กากใยสูง ก็ยังพบว่าอาหารอีกหลายชนิดก็จะมีผลให้จุลินทรีย์ในลำไส้เราเปลี่ยนแปลงได้ เช่น พบว่าคนที่กินอาหารเค็มมากกับคนที่กินไม่เค็มมาก ก็มีจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารบางอย่างต่างกันไป และจุลินทรีย์ที่ต่างกันนี้ อาจจะสร้างสารเคมีที่ไปมีผลต่อการทำงานของไตต่างกัน แล้วไม่ได้มีแค่แบคทีเรียในลำไส้เท่านั้นที่จะมีผลต่อสุขภาพ เช่น มีการค้นพบว่าแบคทีเรียในปากบางชนิด ยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผักที่เรากิน แล้วปล่อยสารเคมีที่ช่วยลดความดันเลือดได้ด้วย โดยสรุปทั้งหมดนี้จะเห็นว่า หลายครั้งผลของอาหารที่มีต่อร่างกายเรานั้น ไม่ได้มาจากสารอาหารโดยตรง แต่เป็นจากการที่อาหารนั้นไปมีผลต่อจุลินทรีย์ แล้วจุลินทรีย์ปล่อยสารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพของเราอีกทีนึง

สาเหตุที่ก่อให้เหตุความเสี่ยงโรคหัวใจ
สาเหตุของโรคหัวใจนั้นเกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยหลักด้วยกัน คือ ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว อายุ และเพศ ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งคือปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น การสูบบุหรี่ ภาวะโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือที่เรียกว่า ไลฟ์สไตล์แบบนั่งอยู่กับที่ (Sedentary lifestyle)

วิธีการป้องกันและดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
โรคหัวใจนั้นสามารถป้องกันความเสี่ยงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงโรคหัวใจมากขึ้น เช่น สูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และหันมาดูแลตนเองด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ ควบคุมน้ำหนัก และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม และลดปริมาณโซเดียมและน้ำตาลให้น้อย นอกจากนี้ ควรหมั่นตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตและไขมันในเลือด

วิธีการตรวจเช็กโรคหัวใจ
สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจเช็กว่าตนเองมีความเสี่ยงกับการเป็นโรคหัวใจหรือไม่นั้น สามารถนัดพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจและเข้ารับการตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลได้ เพื่อดูน้ำหนัก ส่วนสูง ความดันโลหิต อัตราและความสม่ำเสมอของการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้ แพทย์อาจทำการตรวจพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการเอกซเรย์ทรวงอก เพื่อดูว่าภาวะของหัวใจปกติหรือไม่

โรคเกี่ยวกับหัวใจที่พบบ่อย
ความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจที่พบบ่อยมีดังนี้

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดสาเหตุเกิดจากมีคราบไขมันเกาะด้านในผนังหลอดเลือดจนทำให้ทางเดินหลอดเลือดแคบลงเมื่อมีลิ่มเลือดไหลผ่านอาจทำให้เกิดการอุดตันจนเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันเฉียบพลันได้ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถส่งเลือดไปที่หัวใจได้ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่ายเจ็บหน้าอกเมื่อใช้แรงมากๆและอาการจะชัดเจนมากขึ้นตามความรุนแรงของการตีบของหลอดเลือดหัวใจโดยโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงเช่นไม่สูบบุหรี่คุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติอาจต้องทำบอลลูนหัวใจหรือใส่ขดลวดขยายหลอดเลือดหัวใจเมื่อมีข้อบ่งชี้แต่ถ้าหลอดเลือดหัวใจตีบหลายเส้นแพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft – CABG)

โรคลิ้นหัวใจในหัวใจจะมีลิ้นหัวใจทั้งหมด 4 ลิ้นสามารถเกิดภาวะลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่วได้สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความเสื่อมตามวัยโดยผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจตีบจะส่งผลให้สมรรถภาพทางร่างกายต่ำลงเช่นเลือดไม่สามารถไหลผ่านลิ้นหัวใจเอออร์ติกและไม่สามารถส่งไปเลี้ยงสมองได้จนเกิดอาการหน้ามืดส่วนภาวะลิ้นหัวใจรั่วผู้ป่วยมักจะมาด้วยอาการมีน้ำเกินในร่างกายมีอาการเหนื่อยง่ายบวมน้ำหนักขึ้นและน้ำท่วมปอดโรคนี้สามารถรักษาได้ 2 วิธีคือการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจซึ่งผู้ป่วยไม่ต้องกินยาป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด(Anticoagulant)แต่อาจต้องซ่อมแซมซ้ำเมื่อมีภาวะลิ้นหัวใจรั่วหรือลิ้นหัวใจตีบกลับมาอีกส่วนอีกวิธีคือการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมซึ่งลิ้นหัวใจเทียมจะมีอายุการใช้งานนานถึง 10 ปีแต่ผู้ป่วยต้องกินยาป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด(Anticoagulant)โดยผลข้างเคียงของยาคือจะทำให้เลือดออกง่ายและหยุดยากหรือหากระดับยาในเลือดสูงเกินไปอาจเกิดภาวะเลือดออกในสมองหรือกระเพาะอาหารได้

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะคือการที่หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอเต้นเร็วหรือช้าเกินไปคนที่หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมออาจมีอาการวูบใจสั่นหรือโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจส่งผลให้สมองขาดเลือดเนื่องจากมีภาวะลิ่มเลือดอุดตันในสมองบางชนิดอาจอันตรายถึงชีวิตเช่นหัวใจเต้นเร็วแบบVentricular Tachycardia, หัวใจเต้นช้ากว่าปกติแบบComplete Heart Block โดยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถรักษาได้ด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจเพื่อให้จังหวะหัวใจกลับมาเต้นสม่ำเสมอหรืออาจใส่อุปกรณ์ช่วยเพื่อให้หัวใจเต้นในจังหวะปกติในกรณีที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดช้าหรือใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ Ventricular Tachycardia

รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญฟรี
Line : https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
Inbox : m.me/BioSynThailand
Youtube : https://bit.ly/3Fyj83C

เรียบเรียง : BioSyn Thailand
เครดิต : https://shorturl.asia/xInBk
https://shorturl.asia/7lqSM
https://shorturl.asia/fGNvV

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้