Last updated: 20 ก.ค. 2566 | 425 จำนวนผู้เข้าชม |
" เครื่องดื่มเเละอาหาร " เสริมโพรไบโอติก
ใครที่มีปัญหาเรื่องระบบลำไส้ ขับถ่ายยาก ท้องผูก ท้องไส้แปรปรวน ต้องทานเครื่องดื่มเเละอาหารเสริมโพรไบโอติกสูง ช่วยระบาย ทำให้ขับถ่ายง่าย ตามนี้เลยค่ะ! เมื่อทานเครื่องดื่มหรืออาหารแล้วถือเป็นการเติมจุลินทรีย์ชนิดดีให้ร่างกาย เเละยังดีต่อสุขภาพลำไส้สุดๆไปเลยค่ะ !
ประโยชน์ของโพรไบโอติก
ประโยชน์หลัก ๆ ของโพรไบโอติก คือ ช่วยปรับสมดุลลำไส้ ด้วยการเข้าไปลดปริมาณจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีที่อาจก่อโรคในร่างกาย ช่วยกำจัดเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร ทั้งยังกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหารให้มีความสมดุล ลดอาการท้องอืด ท้องเสีย กระตุ้นการขับถ่าย บรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน และเมื่อลำไส้มีจุลินทรีย์ดี แบคทีเรียดีมากกว่าชนิดไม่ดี ก็ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้นไปด้วย
นอกจากนี้ โพรไบโอติกยังช่วยปรับสมดุลแบคทีเรียในช่องคลอดได้ด้วยนะคะ ซึ่งก็จะช่วยป้องกันการติดเชื้อราในช่องคลอดของสาว ๆ และยังมีการศึกษาที่พบว่า การได้รับโพรไบโอติกเป็นประจำมีส่วนช่วยคงระดับอารมณ์ของเราได้ เพราะแบคทีเรียดีบางชนิดในลำไส้มีส่วนช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น ช่วยฮีลสุขภาพใจ ถ้าเราได้รับในปริมาณที่เพียงพอ
เครื่องดื่มเสริมโพรไบโอติก
- คีเฟอร์ (Kefir)
คีเฟอร์ หรือ บัวหิมะธิเบต คือ นมหมักที่เกิดจากการใส่คีเฟอร์เกรนส์เม็ดเล็กๆ ลงไป ถือเป็นแหล่งของแบคทีเรียที่ดี โดยจะมีลักษณะคล้ายกับโยเกิร์ต แต่คีเฟอร์จะมีโพรไบโอติกและแบคทีเรียหลากหลายชนิดมากกว่าโยเกิร์ต อีกทั้งยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างสุขภาพกระดูก ช่วยแก้ปัญหาทางเดินอาหาร และป้องกันการติดเชื้อ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน อีกทั้งยังเป็นทางเลือกที่ดีของคนที่แพ้แลคโตสของนมด้วยนะคะ
- คอมบูชา (Kombucha)
คอมบูชา หรือ ชาหมักที่กำลังเป็นที่นิยมในยุคนี้ ซึ่งจะหมักด้วยแบคทีเรียและยีสต์ที่ดี ถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งโพรไบโอติกที่ดื่มแล้วดีต่อสุขภาพของเรา โดยเฉพาะสุขภาพลำไส้ ใครที่มีอาการท้องผูก อยากขับถ่ายง่าย สบายท้อง คอมบูชาถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีเลยก็ว่าได้ค่ะ
แต่ทั้งนี้ก็ควรเลือกดื่มคอมบูชาที่สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน มีฉลากโภชนาการบอกชัดเจนด้วยนะคะ เพราะหากกระบวนการหมักไม่ถูกสุขลักษณะก็ยังเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียและจุลินทรีย์ต่าง ๆ ที่ก่ออันตรายได้ เช่น ทำให้ท้องเสีย อาเจียน เป็นพิษต่อตับนั่นเองค่ะ
- ซาวร์เคราท์
ชาวเคราห์...ผักดองที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จัก ซาวเคราห์คือผักดองสัญชาติเยอรมันชนิดหนึ่งที่ทำจากกะหล่ำปลี โดยในระหว่างการหมัก เชื้อจุลินทรีย์จะมีการย่อยน้ำตาลจากธรรมชาติเกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์+กรด นอกจากนี้ยังทำให้เกิดสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของโพรไบโอติก ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย ซาวเคราท์จะช่วยเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ช่วยลดอาการท้องอึด ท้องเอ ท้องผูก หรือท้องเสียได้ นอกจากนี้ยังมีวิตามินซีและธาตุเหล็กซึ่งสามารถช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้อีกด้วย ในผู้ที่ลดน้ำหนักก็สามารถทานซาวเคราท์ได้ เนื่องจากซาวเคราห์มีแคลอรี่ที่ต่ำ ไฟเบอร์สูง และโพรไบโอติกสูงนั่นเอง ส่วนตัวเคยทานแล้วรู้สึกว่ารสชาติคล้ายกับกิมจิ แต่ไม่มีรสเผ็ด ใครที่ยังไม่เคยลองก็หามาลองทานกันได้นะคะ
- ควาส (Kvass)
เป็นเครื่องดื่มของชาวสลาฟ รัสเซีย ซึ่งจะหมักจากข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ นม ยีสต์ ขนมปังบางส่วน หรือบีทรูทก็ได้ ถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งของโพรไบโอติก โดยเฉพาะถ้าทำจากบีท ก็จะมีไนเตรตและเบตาเลน (Betalain) ตามธรรมชาติที่เข้ามาช่วยเสริมสร้างการฟื้นตัว กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และส่งเสริมสุขภาพหัวใจได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ
- โยเกิร์ต
ถ้าอยากกินอาหารที่มีโพรไบโอติก หลายคนก็จะนึกถึงโยเกิร์ตเป็นอันดับแรก ๆ ซึ่งโยเกิร์ตก็เป็นแหล่งที่ดีของโพรไบโอติกจริง ๆ นั่นเเหละค่ะ แถมยังรับประทานง่าย รสชาติอร่อย และมีหลายรส หลายตัวเลือก ยิ่งถ้าเป็น0% ด้วยเเล้ว ยิ่งสบายใจเรื่องเเคลลอรี่ แต่ถ้าต้องการโพรไบโอติกจากโยเกิร์ต แนะนำให้กินโยเกิร์ตที่มีโพรไบโอติกสด ๆ ซึ่งจะระบุบนฉลากผลิตภัณฑ์ว่า Live and Active หรือ Live Probiotic หรือ Living Probiotic หรือ Active Probiotic และควรมีปริมาณโพรไบโอติกอย่างน้อย 100 ล้าน CFU
นอกจากนี้ก็ควรเลือกโยเกิร์ตที่ระบุชนิดโพรไบโอติกอย่างชัดเจนด้วย เช่น เป็นโพรไบโอติกชนิดบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium), บิฟิโดแบคทีเรียม อะนิมอลิส (Bifidobacterium animalis DN173010), แล็กโทบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส (Lactobacillus acidophilus) เพราะโพรไบโอติกสายพันธุ์เหล่านี้เป็นชนิดที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหารและระบบภูมิคุ้มกันของเรา เเละเพื่อสุขภาพที่ดีก็ควรเลือกกินโยเกิร์ตไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย ด้วยนะคะ
- นมเปรี้ยว
แตกไลน์จากโยเกิร์ตมาเป็นนมเปรี้ยว ซึ่งเป็นนมที่ผ่านการหมักจนได้โพรไบโอติกมา ซึ่งก็ควรมองหานมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกชนิดเดียวกับที่มีในโยเกิร์ต เพื่อให้ได้โพรไบโอติกชนิดที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายได้จริง และควรเลือกดื่มนมเปรี้ยวชนิดที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ ซึ่งจะเป็นนมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่หากดื่มนมเปรี้ยวแบบ UHT วิธีการผลิตนี้จะให้ความร้อนสูงมากจนจุลินทรีย์ต่าง ๆ ตายหมด เราก็จะไม่ได้โพรไบโอติกที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจริง ๆ นั่นเอง อ้อ ! อย่าลืมเลือกดื่มนมเปรี้ยวไขมันต่ำ น้ำตาลน้อยด้วยนะคะ
- เทปาเช่ (Tepache)
เครื่องดื่มจากเม็กซิโก ตัวนี้เป็นเครื่องดื่มที่มีกรรมวิธีการหมักเช่นเดียวกับคอมบูชา โดยหลักๆ แล้วจะหมักจากสับปะรดทั้งเนื้อ แกน และเปลือก แต่เราก็สามารถใช้ผลไม้อื่นหมักแทนสับปะรดก็ได้เช่นกันค่ะ ซึ่งเทปาเช่นั้นมีวิตามิน และจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ดีต่อสุขภาพมาก โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารค่ะ
- ลาสซี่ (Lassi)
เรียกได้ว่าเป็นเครื่องดื่มจากอินเดีย ที่เกิดจากการผสมกันของผลไม้ โยเกิร์ต และเครื่องเทศ ซึ่งถือเป็นส่วนผสมที่มีส่วนช่วยในการระบาย ดื่มแล้วมีประโยชน์ต่อสุขภาพ อีกทั้งยังเหมาะสำหรับคนฟิตหุ่น เพราะลาสซี่ดื่มแล้วไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่มนั่นเอง
- แอปเปิ้ลไซเดอร์ เวนิกา
แอปเปิ้ลไซเดอร์ เวนิกา หรือ น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล ก็มีโพรไบโอติกเช่นกันค่ะ ดื่มแล้วดีต่อลำไส้ พร้อมช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตามแอปเปิ้ลไซเดอร์ เวนิกาค่อนข้างมีความเข้มข้น ไม่ควรดื่มมากเกินไปในครั้งเดียว แนะนำให้จิบครั้งหรือสองครั้งก็เพียงพอสำหรับการเติมโพรไบโอติกให้ร่างกายแล้วล่ะค่ะ
อาหารเสริมโพรไบโอติก
- ขิงดอง
สมุนไพรไทยอย่างขิงเมื่อนำมาดองก็จะให้โพรไบโอติกที่ดีต่อสุขภาพเช่นกัน นอกจากนี้ด้วยสรรพคุณของขิงอ่อนเองก็น่าสนใจไม่น้อย ทั้งช่วยแก้เมารถ เมาเรือ บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน โดยเฉพาะอาการคลื่นไส้จากการแพ้ท้อง และจากการทำเคมีบำบัด เป็นต้น
- กิมจิ
กิมจิเป็นเครื่องเคียงยอดนิยมในเกาหลีและในไทยเองก็กินกิมจิกันเก่งไม่แพ้ใคร เพราะกิมจิมีรสชาติที่ดี กินเคียงกับอาหารได้หลากหลายประเภท และยังจัดเป็นผักดองที่อุดมไปด้วยกรดแลคติกแอซิดแบคทีเรีย (Lactic acid bacteria : LAB), แลคโตบาซิลัส และจุลินทรีย์ที่ดีต่าง ๆ อีกหลายชนิด โดยส่วนใหญ่จะเป็นโพรไบโอติกที่ดีต่อระบบย่อยอาหารและช่วยปรับสมดุลการทำงานของลำไส้
- มิโสะ
มิโสะเป็นเครื่องปรุงรสของญี่ปุ่นที่ทำจากถั่วเหลืองหมักกับเกลือและเชื้อราชนิดที่ดี และแน่นอนว่ากระบวนการหมักนี้ก็ให้จุลินทรีย์ชนิดที่ดีตามมาด้วย โดยสามารถรับประทานแบบซุปมิโสะก็อร่อย หรือใช้ปรุงอาหารเพิ่มโพรไบโอติกให้จานโปรดก็ได้
- เทมเป้
เทมเป้ คือ ถั่วเหลืองหมักกับเชื้อราที่ดีจนทำให้ได้โพรไบโอติก และยังเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน ขณะที่สารไอโซฟลาโวนที่เป็นไฟโตเอสโตรเจนก็ช่วยในการลดไขมันในเลือด ช่วยบรรเทาอาการวัยทอง อาการร้อนวูบวาบ และยังได้เลซิตินจากถั่วเหลืองช่วยบำรุงสมอง รวมทั้งได้วิตามินต่าง ๆ จากกระบวนการหมักของถั่วเหลือง เช่น วิตามินบี 12 ที่ปกติมักพบได้ในเนื้อสัตว์ เป็นต้น
- นัตโตะ
นอกจากเทมเป้แล้วยังมีนัตโตะซึ่งเป็นถั่วหมักและเป็นแหล่งที่ดีของโพรไบโอติกเช่นกัน และยังมีการศึกษาที่พบว่า การรับประทานนัตโตะเป็นประจำจะช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ด้วย
- ชีสบางชนิด
ชีสที่มีโพรไบโอติกสังเกตง่าย ๆ จากฉลากผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีคำว่า “live cultures” หรือ “active cultures” ซึ่งมักจะเจอได้ในชีสเกาด้า มอซซาเรลลาชีส เชดด้าชีส และคอทเทจชีส เป็นต้น
โพรไบโอติก กับข้อควรระวัง
อย่างที่บอกว่าการกินโพรไบโอติกอย่างไม่เหมาะสมก็อาจส่งผลต่อสุขภาพได้ ฉะนั้นจึงอยากให้ใส่ใจในข้อควรระวังกับการกินโพรไบโอติก ดังนี้ หากเพิ่งเริ่มกินให้กินในปริมาณน้อย ๆ ก่อน เพราะถ้ากินในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องอืด มีลมในท้องมากขึ้น ท้องผูก หรือถ่ายเหลวได้
สำหรับคนที่กินอาหารหมักดองเพื่อให้ได้โพรไบโอติก ควรเช็กว่ารสชาติอาหารนั้นไม่ผิดเพี้ยนจากปกติ กลิ่น สี รส ไม่บูดเน่าเสีย หรือทางที่ดีควรเลือกกินผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน มีกระบวนการผลิตที่สะอาด ปลอดภัย ไม่เสี่ยงเกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคที่อาจก่อโรคอาหารเป็นพิษหรือทำให้ท้องร่วงได้
เช็กร่างกายตัวเองว่ากินโพรไบโอติกแล้วเกิดความผิดปกติไหม อย่างบางคนอาจมีความไวต่อโพรไบโอติก ทำให้กินแล้วท้องไส้ปั่นป่วน ท้องเสียมาก ซึ่งก็ต้องระวังอาการนี้ในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เช่น ผู้สูงอายุ หรือเด็กเล็ก
โพรไบโอติกในอาหารเสริมที่เเนะนำ
BioSyn เป็นซินไบโอติก (โพรไบโอติก+พรีไบโอติก) ชนิดเเคปซูล ซึ่งเเคปซูลของเราผลิตภายใต้นวัตรกรรม Syntex ซึ่งเป็นนวัตรกรรมระดับโลก อีกทั้งยังใช้ในทางการเเพทย์ด้วย ข้อดีคือตัวเเคปซูลจะเคลือบจุลินทรียย์ดีที่มีชีวิตภายในเเคปซูล เพื่อให้ไปถึงผนังลำไส้ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยไม่ถูกทำลายตั้งเเต่น้ำลาย หรือกรดในกระเพาะอาหารนั่นเองค่ะ โดยร่างกายคนเราควรทานโพรไบโอติกในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน คือ 10,000 ล้าน CFUเป็นอย่างต่ำ (CFUเป็นหน่วยวัดจุลินทรีย์ในอาหารเเละเครื่องดื่ม) ซึ่งใน BioSyn 1 แคปซูลมีจุลินทรีย์ดีที่มีชีวิตถึง 20 ล้านตัว หรือ 20 Billion CFU จึงทำให้มั่นใจได้ว่า จุลินทรีย์ดี จะสามารถเข้าไปถึงผนังลำไส้ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนั่นเองช่วยบรรเทาอาการของกรดไหลย้อน สร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียชนิดไม่ดี ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร และช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดีขึ้น นอกจากจะช่วยในเรื่องของกรดไหลย้อนแล้ว ยังช่วยในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกัน การขับถ่าย และการดูดซึมสารอาหารมากมาย เพราะสุขภาพจะดีได้ต้องเริ่มต้นที่ลำไส้นะคะ
รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
Inbox : m.me/BioSynThailand
Line : https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
Youtube : https://bit.ly/3Fyj83C
เรียบเรียง : BioSyn Thailand
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://shorturl.asia/XNJ0f
https://shorturl.asia/p5IBX
https://shorturl.asia/lsQjP
12 ก.ย. 2567
12 ก.ย. 2567
4 ก.ย. 2567