Last updated: 4 ก.ค. 2566 | 352 จำนวนผู้เข้าชม |
เชื่อไหมว่า…ทุกโรคจุดเริ่มต้นมาจากลำไส้
คนส่วนใหญ่มักนึกถึงสุขภาพของหัวใจ ปอดและสมอง มาก่อนอวัยวะอื่นเสมอ แต่รู้หรือไม่ว่าลำไส้ก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่ากันในเรื่องของสุขภาพ
มีใครเคยได้ยินไหมคะว่า ลำไส้เป็นสมองที่ 2 ของร่างกาย…
บทบาทของระบบการทำงานของลำไส้
คนส่วนใหญ่มักนึกถึงสุขภาพของหัวใจ ปอดและสมอง มาก่อนอวัยวะอื่น แต่รู้หรือไม่ว่าลำไส้ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันในเรื่องของสุขภาพ ในความเป็นจริง ระบบทางเดินอาหารเปรียบเสมือนเครื่องฟอกของเสียที่ทำให้ร่างกายสะอาดและเป็นเครื่องผลิตพลังงาน ระบบการย่อยอาหารที่ดีมีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย เมื่อระบบการย่อยอาหารขาดสมดุล ร่างกายจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ส่งผลให้มีอาการเหนื่อยล้า ขาดสมาธิหรือนำไปสู่โรคร้ายแรงเช่น มะเร็ง ดังนั้นการดูแลระบบย่อยอาหารให้แข็งแรงจึงช่วยส่งเสริมการทำงานของหัวใจ ปอดและสมอง เพื่อให้มีสุขภาพโดยรวมที่ดีนั่นเองค่ะ
ปัญหาสุขภาพลำไส้ที่พบได้บ่อย
มะเร็งลำไส้หรือที่เรียกว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมะเร็งลำไส้ตรง เป็นโรคที่พบได้มากที่สุดโรคหนึ่งของลำไส้ อาการของมะเร็งในระยะที่ 3 และ 4 จะทำให้มีอาการเหนื่อยล้า รู้สึกอ่อนแรงลงและ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมถึงความรู้สีกถ่ายไม่สุด ลักษณะของอุจจาระมีการเปลี่ยนแปลงมานานกว่าหนึ่งเดือน
อีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยคือ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังซึ่งเกิดจากการอักเสบของระบบทางเดินอาหารเรื้อรัง หากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานจะทำให้ลำไส้เสียหาย อาการของโรคทั่วๆไปคือรู้สึกไม่สบายท้องหรือปวดท้อง มีแก๊สในท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องผูกและ/หรืออาเจียน
นอกจากนี้ ยังมีโรคทางทวารหนักที่มีผลกระทบต่อทวารหนักและลำไส้ตรง ซึ่งรวมถึงโรคริดสีดวงทวาร แผลปริที่ขอบทวารหนักและโรคฝีคัณฑสูตร ทำให้เกิดอาการ เช่น เจ็บปวด คัน แสบร้อน เลือดไหลและ / หรือบวม อาการเหล่านี้มีผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตของผู้ป่วย
ทำไมสุขภาพของลำไส้จึงมีผลกระทบในทุกแง่มุมของชีวิต
การทำงานของลำไส้ที่เปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย มีผลต่อสุขภาพของคุณได้ เช่น หากคุณมีอาการท้องเสีย ท้องผูก อุจจาระมีขนาดผอมเรียวเป็นเวลาหลายวัน หรืออาการบ่งชี้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกว่ามีการเคลื่อนไหวของลำไส้ แต่เมื่อถ่ายเสร็จแล้วยังรู้สึกว่าถ่ายไม่สุด และคุณอาจเริ่มมีน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกเหนื่อยและอ่อนแรง ร่วมกับรู้สึกปวดตรงกลางหรือค่อนไปทางด้านบนของท้อง นอกจากนี้หากคุณมีเลือดไหลออกจากทวารหนัก โดยเลือดมีสีแดงสดหรือมีเลือดปนอยู่ในอุจจาระทำให้อุจจาระมีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนถึงโรคที่ร้ายแรง
การดูเเลลำไส้
ดื่มน้ำสะอาดทุกวัน
การดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำและงดดื่มน้ำหวาน ชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม ถือเป็นการล้างลำไส้ให้สะอาดขึ้น แถมยังทำให้การขับถ่ายดีขึ้น
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอถือว่าเป็นการดูแลลำไส้อย่างหนึ่งเนื่องจากการออกกำลังกายจะกระตุ้นลำไส้ให้มีการขยับและทำให้ขับถ่ายดีขึ้น
ขับถ่ายให้ตรงเวลา
การขับถ่ายตรงเวลาทุกวัน จะทำให้ร่างกายของเราขับของเสียออกมาเวลาเดิมทุกวัน และการขับของเสียเวลาเดิมทุกวันจะทำให้ลำไส้ทำงานได้อย่างปกติตรงเวลา อีกทั้งการขับถ่ายยังเป็นการทำความสะอาดลำไส้อีกด้วย
รับประทานอาหารเวลาเดิม
การรับประทานอาหารเวลาเดิมเป็นเรื่องหนึ่งที่ทุกคนอาจมองข้ามและไม่ให้ความสำคัญ ซึ่งการรับประทานอาหารเวลาเดิมจะทำให้ร่างกายหลั่งน้ำย่อยออกมาเวลาเดิม และลำไส้ก็จะมีการทำงานในเวลาเดิม ๆ จึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยดูแลลำไส้
การรับประทานอาหารที่ดีต่อลำไส้
ควรเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อลำไส้ของเรา โดยอาหารที่ดีต่อลำไส้ก็คืออาหารที่มีจุลินทรีย์และเส้นใยสูง เพราะกากใยจะช่วยทำความสะอาดลำไส้และนำสิ่งตกค้างออกจากร่างกายได้ดี ส่วนจุลินทรีย์จะช่วยเพิ่มแบคทีเรียดีในลำไส้ทำให้ลำไส้แข็งแรง
โดยอาหารที่มีจุลินทรีย์ที่ดีต่อร่างกาย ได้แก่ โยเกิร์ต นมเปรี้ยว นัตโตะ มิโซะ กิมจิ ผักเสี้ยนดิง ชาหมัก เป็นต้น ส่วนอาหารที่มีกากใยสูง ได้แก่ ข้าวกล้อง ผักใบเขียว ถั่ว แอปเปิลเขียว อโวคาโด เป็นต้น
การดูแลลำไส้ให้มีความแข็งแรงและมีสุขภาพที่ดีนั้นไม่เพียงแต่ทำให้การขับถ่ายดีเท่านั้น แต่การมีลำไส้ที่ดียังช่วยให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆได้อีกด้วย เสริมจุลินทรีย์ที่ดีให้ร่างกายด้วย BioSyn โพรและพรีไบโอติก จาก BioSyn ผลิตภัณฑ์สะกัดจากพืช เเละไฟเบอร์จากผลไม้ธรรมชาติ ให้คุณมั่นใจในความปลอดภัย อีกทั้งได้จุลินทรีย์ดีที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายกว่า 15 สายพันธุ์ ทำให้มีสุขภาพลำไส้ที่ดี ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น ภูมิคุ้มกันร่างกายก็แข็งแรงขึ้น ไม่ป่วยง่าย ดูสดใส หมดปัญหาลำไส้ เมื่อลำไส้ดี สุขภาพโดยรวมก็จะดีนั่นเอง รักคนอื่นได้ก็อย่าลืมรักตัวเองนะคะ มอบสุขภาพที่ดีให้กับตัวเองกันเถอะค่ะ ลงทุนกับตัวเองไม่มีขาดทุนค่ะ
รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
Inbox: m.me/BioSynThailand
Line: https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
Youtube: https://bit.ly/3Fyj83C
เรียบเรียง : BioSyn Thailand
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://shorturl.asia/dKOo1
https://shorturl.asia/m4tU0
หนังสือลำไส้ดีไม่มีโรค
12 ก.ย. 2567
12 ก.ย. 2567
4 ก.ย. 2567