“ระวัง !! ลำไส้ใหญ่อักเสบเฉียบพลัน”

Last updated: 17 มิ.ย. 2567  |  412 จำนวนผู้เข้าชม  | 

“ระวัง !! ลำไส้ใหญ่อักเสบเฉียบพลัน”

          ทุกคนรู้ไหมคะว่าโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังเป็นโรคที่คนไทยเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นโรคที่เกิดบริเวณลำไส้ใหญ่เท่านั้น การอักเสบเกิดเฉพาะเนื้อเยื่อชั้นตื้นๆ เช่น ชั้นเยื่อบุลำไส้ของลำไส้ใหญ่ และมักเป็นที่ไส้ตรงเหนือทวารหนักขึ้นไป การอักเสบอาจลุกลามสูงขึ้นไปเท่าใดก็ได้แล้วแต่ความรุนแรงของโรค พบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิงในอัตราส่วนเท่าๆ กัน

ลักษณะของลำไส้ใหญ่อักเสบ

      โดยส่วนมากแล้ว อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่มักเกิดแบบเฉียบพลัน อาการของโรครุนแรงแต่ทุเลาลงได้อย่างรวดเร็ว โดยอาจไม่ได้รับการรักษา หรือรับการรักษาเพียงเล็กน้อย การเป็นโรคนี้เสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ อย่างไรก็ตาม อาการท้องร่วงจากการติดเชื้อต่างๆ อาจมีความรุนแรง และนำไปสู่การถ่ายเป็นมูกเลือด ที่เป็นอันตรายติดเชื้อส่วนอื่นๆ เป็นแผลผนังลำไส้ หรือหากอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการ เมื่อเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบ

-ปวดท้อง
-ท้องอืด
-ถ่ายเหลว โดยอาจมีมูก หรือเลือดปน
-ถ่ายเป็นเลือด
-ไม่อยากอาหาร
-น้ำหนักลด
-มีไข้


อาการ เมื่อเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบ เรื้อรัง

-ภาวะขาดน้ำ
-อ่อนล้า
-โลหิตจาง 
มีอาการเหล่านี้เมื่อไหร่…อย่าชะล่าใจ                                                                                               

ในกรณีที่มีอาการรุนแรงเหล่านี้ ทางที่ดีควรรีบพบแพทย์ เช่น                                              

-คลื่นไส้ อาเจียน กินอาหารไม่ได้ ทำให้มีความเสี่ยงร่างกายขาดน้ำจนเกิดภาวะช็อกได้              

-สูญเสียน้ำจากการท้องเสีย รู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามืดจะเป็นลม ปากแห้ง มือเท้าเย็น หรือเหมือนจะหมดสติ         

-ปวดท้องแบบบิดๆ เกิดเป็นพักๆ มักมีอาการถ่ายท้องตามมา แต่หากเป็นการปวดท้องตลอดเวลาโดยไม่มีเว้นช่วง ให้ระวังไว้ว่านั่นอาจไม่ใช่การปวดจากลำไส้อักเสบธรรมดา                                      

-มีไข้สูง หนาวสั่น แบบนี้อาจเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง                                                                                

-ถ่ายมีมูกเลือด หรือมีอาการปวดหน่วงๆ ที่ทวาร อาจเป็นอาการของลำไส้ใหญ่อักเสบ

สาเหตุของลำไส้อักเสบ (มีหลายประเภทเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป)

-โรคลำไส้ใหญ่อักเสบจากการติดเชื้อ (Infectious colitis) เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันอันเนื่องมาจากจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ เชื้อซัลโมเนลลา (Salmonella) และ เชื้ออีโคไล ( coli) ซึ่งปนเปื้อนในอาหารหรือน้ำ แพทย์อาจทำการรักษาโดยการจ่ายยาปฏิชีวนะให้ผู้ป่วย

-โรคลำไส้ใหญ่อักเสบจากยาปฏิชีวนะ (Antibiotic-associated colitis, Pseudomembranous colitis: PMC) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อคลอสทริดิออยดีส์ ดิฟฟิไซล์ (Clostridioides difficile หรือชื่อเดิม Clostridium difficile: diff) ซึ่งอาศัยอยู่ในลําไส้ เมื่อได้รับยาปฏิชีวนะบางชนิด แบคทีเรียอื่น ๆ ที่ควบคุมแบคทีเรีย C.diff อาจตายลง ทําให้แบคทีเรีย C. diff เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากจนก่อให้เกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบจากยาปฏิชีวนะได้

-ภาวะลำไส้อักเสบเน่าตาย (Necrotizing enterocolitis: NEC) พบในทารกคลอดก่อนกำหนดเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังไม่พัฒนาเต็มที่ ภาวะลำไส้อักเสบเน่าตายเป็นภาวะที่อันตรายต่อชีวิต

-โรคลำไส้ใหญ่อักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic colitis) เกิดจากปฏิกริยาภูมิแพ้ต่อน้ำตาลแลคโทสหรือแพ้ถั่วเหลืองจากอาหารที่รับประทาน

-โรคลำไส้ใหญ่อักเสบที่เกิดจากลำไส้ใหญ่ขาดเลือด (Ischemic colitis) เกิดขึ้นจากการที่เลือดไปหล่อเลี้ยงลำไส้ได้ไม่เพียงพอ เนื่องจากภาวะอุดตันของเส้นเลือด อันรวมไปถึง ลิ่มเลือดอุดตัน หลอดเลือดโป่งพอง และผนังหลอดเลือดเป็นคราบแข็งหนาจนหลอดเลือดตีบ

-โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel diseases: IBD) เช่น ลำไส้ใหญ่อักเสบประเภท Ulcerative colitis และโรคโครห์น (Crohn’s) ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง ซึ่งเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมกับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม บางครั้งผู้ป่วยในกลุ่มนี้อาจมีอาการแสดงนอกลำไส้ได้ เช่น ผื่น ปวดข้อ หรือ เยื่อบุตาอักเสบ

-โรคลำไส้อักเสบจากการรังสีรักษา เป็นอาการข้างเคียงชั่วคราวจากการฉายรังสีรักษามะเร็งในอวัยวะข้างเคียง แต่อาจกลายเป็นภาวะเรื้อรังในผู้ป่วยบางราย
-โรคลำไส้ใหญ่อักเสบจากการผ่าตัดให้เกิดช่องเปิดของลำไส้ใหญ่ ออกมาภายนอกร่างกายเพื่อเบี่ยงเบนมิให้อุจจาระผ่านไปยังบริเวณที่มีพยาธิสภาพ
ภาวะแทรกซ้อน

- ภาวะลำไส้ทะลุจากการอักเสบเรื้อรัง ผนังลําไส้ใหญ่อาจเปราะบางลงและแตกได้ง่าย หากเกิดรูทะลุในผนังลำไส้ แบคทีเรียในลําไส้ใหญ่อาจหลุดออกจากลำไส้ไปอยู่ในช่องท้องทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องท้อง ซึ่งอาจนําไปสู่การติดเชื้อในกระเสเลือด

-ภาวะลำไส้ใหญ่โป่งพองชนิดรุนแรง การอักเสบที่รุนแรงอาจทำให้ผนังลําไส้ใหญ่ขยายตัวและขัดขวางการหดตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะนําไปสู่การอุดตันของลําไส้ใหญ่จากความไม่สามารถบีบเคลื่อนตัวของลำไส้ อาการท้องอืด และมีความเสี่ยงที่ลำไส้จะแตกมากขึ้น

-ความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลําไส้ใหญ่สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในลําไส้ใหญ่ที่มีการอักเสบเรื้อรังอาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้ ผู้ป่วยที่มีอาการลําไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังมานานกว่า 10 ปีมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลําไส้ใหญ่สูงขึ้น


การตรวจวินิจฉัย

- การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
- การตรวจเลือด
- การทดสอบอุจจาระ
- การตรวจวิจิจฉัยด้วยภาพ
- การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร รวมไปถึง การส่องกล้องตรวจลําไส้ใหญ่และการ
- ส่องกล้องตรวจลําไส้ใหญ่ส่วนปลาย

การรักษา

การรักษาภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบนั้นต้องทำการรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดลำไส้อักเสบ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านไวรัสในกรณีมีการติดเชื้อ การหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่กระตุ้นปฏิกิริยาภูมิแพ้ในผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบจากภูมิแพ้ การหยุดยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบจากยาปฏิชีวนะ หรือการให้ยาต้านการอักเสบในกลุ่มผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD)

- การผ่าตัดเป็นทางเลือกสําหรับการรักษาภาวะแทรกซ้อนจากลำไส้อักเสบ เช่น ลำไส้อักเสบอย่างรุนแรงหรือขาดเลือดรุนแรงจนเกิดภาวะลำไส้เน่า, ลำไส้อุดตัน, การหยุดเลือดที่ออกในลำไส้ชนิดรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยการส่องกล้องหรือการรักษาผ่านหลอดเลือด

การเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตและการดูแลรักษาตนเองที่บ้าน

-หากผู้ป่วยมีอาการลำไส้อักเสบแบบชั่วคราว หรือลำไส้อักเสบจากการฉายรังสีรักษา แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีไขมันและกากใยต่ำ อาหารอ่อน ปรุงสุกดี และย่อยง่าย

-อาหารต้านการอักเสบ
อาหารแปรรูปมักมีไขมันและน้ำตาลในปริมาณที่สูง ซึ่งไปกระตุ้นการอักเสบ แพทย์อาจแนะนําให้รับประทานอาหารต้านการอักเสบ เช่น ถั่ว อะโวคาโด น้ำมันมะกอก และปลาที่มีกรดไขมันจำเป็น ซึ่งอาหารเหล่านี้จะมีไขมันไม่อิ่มตัวชนิดซึ่งช่วยลดการอักเสบเรื้อรังได้

-การหลีกเลี่ยงไม่รับประทานอาหารที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุ
เป็นการหลีกเลี่ยงอาหารที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุ แล้วค่อยกลับมารับประทานอาหารดังกล่าวทีละอย่าง เพื่อดูว่าอาหารตัวไหนมีผลต่อระบบย่อยอาหารอย่างไร เพื่อปรับมื้ออาหารที่ดีต่อตัวผู้ป่วยแพทย์อาจแนะนำการรับประทานอาหารวิธีนี้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD)

      ส่วนวิธีป้องกันและดูแลตัวเองที่ดีที่สุด คือ การเลือกกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ในภาชนะที่สะอาด หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำทิ้งไว้นานๆ ล้างมือก่อนกินอาหาร และหากพบความผิดปกติใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที ที่สำคัญอย่าลืมเติมจุลินทรีย์ดีให้ลำไส้กับ BioSyn ซินไบโอติกปรับสมดุลลำไส้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รวมเอาจุลินทรีย์ดีกว่า 15 สายพันธุ์ บรรจุร่วมกับพรีไบโอติก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลลำไส้ให้กับคุณ สุขภาพดีเริ่มต้นที่ลำไส้ เริ่มต้นกับ BioSyn 



รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
Inbox : m.me/BioSynThailand
Line : https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
Youtube : https://bit.ly/3Fyj83C


เรียบเรียง : BioSyn Thailand
ขอบคุณข้อมูลจาก :https://shorturl.asia/8i4sK
https://shorturl.asia/zfngO
https://shorturl.asia/4DRZ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้