ไม่ขับถ่ายนานเกิน 3 วัน พบผลวิจัยเสี่ยงสมองเสื่อมเร็วไปอีก 3 ปี

Last updated: 6 พ.ย. 2566  |  504 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไม่ขับถ่ายนานเกิน 3 วัน พบผลวิจัยเสี่ยงสมองเสื่อมเร็วไปอีก 3 ปี

ไม่ขับถ่ายนานเกิน 3 วัน พบผลวิจัยเสี่ยงสมองเสื่อมเร็วไปอีก 3 ปี

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์ระบุข้อความว่า ท้องผูก ไม่ถ่าย เสี่ยงสมองเสื่อม ผลจากการติดตามผู้คนที่ท้องผูกตั้งแต่สามวันหรือมากกว่าพบว่าสมองเสื่อมเร็ว เทียบเท่ากับสมองแก่ไป 3 ปี ทั้งนี้คนที่ถ่ายวันละสองครั้งจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นนิดหน่อย

โดยพบว่ามีความสัมพันธ์กับจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ผลิตสารอักเสบเพิ่มขึ้น รายงานในที่ประชุมสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ Amsterdam เดือนกรกฎาคม 2023

และเป็นเหตุผลที่ต้องเน้นอาหารสุขภาพ ผัก ผลไม้กากใย ลดงดเนื้อสัตว์ แต่กินปลาแทน และการออกกำลังตามธรรมชาติ (move naturally) ลองเดิน ยังไม่ต้องถึงกับออกกำลังรุนแรงคาร์ดิโอ moderate to intense ถ้าอายุและสังขารไม่อำนวย หรือมีความเสี่ยงของเส้นเลือดตีบในสมองหรือหัวใจอยู่แล้ว และถ้าออกกำลังกายรุนแรงจะยิ่งทำให้เส้นเลือดตันไปอีกนั่นเองค่ะ

การใช้ยาระบายประเภทใดก็ตามจะเพิ่มความเสี่ยงของสมองเสื่อมขึ้น ถ้าใช้นานติดต่อกันเป็นปี

จากวารสารทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา บอกว่า ประเทศไทยมีผู้คนที่มีภาวะท้องผูกร้อยละ 23.5 และมีแนวโน้มของภาวะท้องผูกในคนที่อายุน้อยหรือวัยทำงานมากขึ้น เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป เป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดภาวะท้องผูก และเกิดความเสี่ยงกับโรคระบบทางเดินอาหาร หลายคนจึงมักจะหันไปพึ่งยาระบาย โดยการรับประทานต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง และอาจทำให้เกิดผลเสียกับร่างกายตามมาอีกด้วย

สมองกับยาถ่ายเกี่ยวข้องกันยังไง

การใช้ยาระบายชนิดเดี่ยวหรือหลายชนิดร่วมกัน ยังเพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อม โดยมีรายงานนี้ ตีพิมพ์ในวารสารประสาทวิทยา (Neurology) ซึ่งเป็นวารสารทางการของสมาคมประสาทของสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2023

ระบุว่า ผู้ที่ใช้ยาระบายประเภทที่เรียกว่า osmotic laxatives เป็นประจำ มีความเสี่ยงสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ใช้ถึง 64% และคนที่ใช้ยาระบายหนึ่งประเภทหรือมากกว่าที่เป็นทั้งแบบ bulk-forming แบบ stool softening และ stimulant laxatives มีความเสี่ยงสูงขึ้นถึง 90%

ยาระบายมีหลายกลุ่มตามกลไกการออกฤทธิ์ของยา

  ยาระบายชนิดเพิ่มใยอาหาร (Bulk forming laxatives) ส่วนใหญ่อยู่ในรูปยาผงชงละลายกับน้ำ เช่นยา Mucillin, Metamucil

  ยาระบายชนิดที่ดึงน้ำเข้ามาในลำไส้และทำให้อุจจาระเหลวนุ่มขึ้น และถ่ายง่ายขึ้น (oxidative laxatives) อาทิ lactulose, magnesium citrate, sodium acid phosphate

  ยาระบายชนิดที่ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มขึ้น (stool softening หรือ emollient) ช่วยให้น้ำและของเหลวผสมเข้ากับอุจจาระไม่ให้แข็ง เช่น ยา colace, docusate sodium

  ยาระบายที่กระตุ้นการบีบตัวของลำใส้ เช่น ยา dulcolax, senna (มะขามแขก)

โดยการใช้ยาระบายประเภทต่าง ๆ จะทำให้มีการปรับเปลี่ยนจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียในลำไส้ผ่านกลไก ที่ส่งผ่านจากเส้นประสาทของลำไส้ขึ้นไปที่สมอง และจากการที่เสริมให้มีการสร้างสารพิษ (toxins) ที่ก่อให้เกิดการอักเสบผนังลำไส้รั่วและลุกลามไปทั่วร่างกายและกระทบการทำงานของสมอง

อย่างไรก็ดี ประชากรที่อยู่ในกลุ่มศึกษาที่รายงานนี้มีจำนวน 502,229 คน โดยที่ 54% เป็นสตรีและทั้งหมดมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 57 ปี ตอนที่เริ่มการศึกษา โดยทั้งหมดไม่มีอาการของสมองเสื่อมเลยตั้งแต่ต้น เมื่อทำการปรับค่าหรือปัจจัยต่าง ๆ ยาอื่น ๆ ที่ใช้ และรวมกระทั่งถึงประวัติครอบครัวที่มีสมองเสื่อมหรือไม่

พบว่า การใช้ยาระบายอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มความเสี่ยงของสมองเสื่อมทุกชนิด และความเสี่ยงของสมองเสื่อมที่เกิดจากเส้นเลือดฝอยตันทั่วไป หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (Vascular dementia) ซึ่งหากเกิดขึ้นในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้หรือความจำ ก็จะทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมเกิดขึ้น โดยที่ไม่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดสมองเสื่อมแบบ อัลไซเมอร์

ถึงแม้ว่า จะยังไม่สามารถที่จะสรุปหรือพิสูจน์ได้ว่า การใช้ยาระบายทำให้เพิ่มความเสี่ยงเกิดสมองเสื่อมชนิดต่าง ๆ ที่กล่าวมา ควรต้องมีการศึกษาในขั้นลึกต่อไป แต่การใช้ยาระบายเป็นประจำต่อเนื่อง อย่างยาวนาน อาจมีผลข้างเคียงจนทำให้ลำไส้แปรปรวน ลำไส้ติดการกระตุ้นจากยาระบาย จนทำงานเองไม่เป็น หากไม่มียาระบาย ลำไส้ก็จะไม่ทำงานเลย อุจจาระตกค้างอยู่อย่างนั้น

และจุลินทรีย์ในลำไส้ และเซลล์บริเวณผนังลำไส้บางชนิด มีส่วนช่วยควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ เซลล์บางชนิดในลำไส้ (enterochromaffin cells) ยังทำหน้าที่สร้าง สารสื่อประสาทที่ชื่อว่า Serotonin กว่า 80% ของทั้งหมดที่ร่างกายสร้างได้ ซึ่งมากกว่าการผลิตออกมาจากสมอง ในบางรายที่มีภาวะลำไส้แปรปรวน มีท้องผูกสลับท้องเสีย ก็จะมีอาการร่วมกับอารมณ์แปรปรวนไปด้วยเช่นกัน เนื่องจากกระทบต่อ Serotonin ที่ร่างกายเราผลิตได้

จะเห็นได้ว่าแม้ว่าผลลัพธ์ของยาระบาย จะช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น แต่ผลข้างเคียงของแต่ละชนิดก็แตกต่างกันไป การที่จะทำให้ร่างกายสามารถกลับมาขับถ่ายได้เองนั้น ต้องเพิ่มกากใยให้กับร่างกาย ด้วยการกินผักสด ผลไม้สด ทานโปรไบโอติก ปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ ดื่มน้ำมาก ๆ แต่ถ้าอยากให้เห็นผลไว เห็นผลเร็วและไม่ต้องกลัวเสียสุขภาพ ลองรับประทาน Lish Flora โปรไบโอติกที่ช่วยปรับสมดุล และ เพิ่มจุลินทรีย์ดีในลำไส้ ทำให้ระบบขับถ่ายดียิ่งขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังช่วยให้ผิวพรรณสดใส เพราะไม่มีสารพิษ หรือ อุจจาระตกค้างในลำไส้เรา แถมยังช่วยให้พุงป่อง ๆ ของเราหายไปอีก หากใครมีปัญหาเรื่องการขับถ่าย Lish Flora ช่วยได้แน่นอน


รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญฟรี
Line : https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
Inbox : m.me/BioSynThailand
Youtube : https://bit.ly/3Fyj83C

เรียบเรียง : BioSyn Thailand
อ้างอิง : วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, สมาคมประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว (ไทย), ไทยรัฐออนไลน์, ศูนย์สมองและระบบประสาท, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
https://shorturl.asia/DsEVH
https://shorturl.asia/mX9Zb
https://shorturl.asia/cY3Xy

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้