นั่งส้วมนานเกิน 15 นาที +  เสี่ยงเป็น “ริดสีดวงทวาร”

Last updated: 30 ต.ค. 2566  |  556 จำนวนผู้เข้าชม  | 

นั่งส้วมนานเกิน 15 นาที +  เสี่ยงเป็น “ริดสีดวงทวาร”

นั่งส้วมนานเกิน 15 นาที +  เสี่ยงเป็น “ริดสีดวงทวาร”

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า ริดสีดวง เกิดจากการท้องผูก หรือการเบ่งอุจจาระแรงเกินไปเท่านั้น แต่รู้ไหมว่า แท้จริงแล้ว การนั่งห้องน้ำนานก็เป็น 1  ในสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาริดสีดวงเช่นกัน 

มีใครชอบนั่งอ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์เวลานั่งส้วมบ้างคะ 

Dr. Gregory Thorkelson แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารจากมหาวิทยาลัย Pittsburgh กล่าวว่า เราไม่ควรจะใช้เวลาในการทำธุระหนักนานเกินกว่า 15 นาทีต่อหนึ่งครั้ง และควรเข้าห้องน้ำเมื่อรู้สึกปวดมากๆ จริงๆ ไม่งั้นคุณอาจจะต้องใช้แรงในการเบ่งอุจจาระออกมา และอาจทำให้เกิดเป็นโรคริดสีดวงทวาร และมีเลือดออกเวลาที่อุจจาระออกมาซึ่งจะสร้างความเจ็บปวดอย่างมาก

-โรคริดสีดวงทวาร

เมื่อมีอาการของโรคริดสีดวงทวาร เส้นเลือดบริเวณทวารหนักและลำไส้ตรงส่วนล่างจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เหมือนเส้นเลือดขอด โรคริดสีดวงทวารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่โรคริดสีดวงทวารภายใน ซึ่งเกิดภายในลำไส้ตรงและโรคริดสีดวงทวารภายนอกซึ่งเกิดใต้ผิวหนังรอบทวารหนัก

ผู้ใหญ่ราว 3 ใน 4 คนมักเคยเป็นโรคริดสีดวงทวารครั้งหนึ่งในชีวิต สาเหตุของโรคมีได้หลายสาเหตุ แต่โดยมากแล้วมักไม่สามารถระบุสาเหตุได้

อย่างไรก็ตามการรักษาโรคริดสีดวงทวารนั้นได้ผลดี และการดูแลรักษาด้วยยาสามัญประจำบ้าน ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตก็สามารถช่วยบรรเทาอาการได้


อาการริดสีดวงทวาร

  ระยะที่ 1

มีเส้นเลือดดำโป่งพองในทวารหนักเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระจะมีเลือดไหลออกมาด้วย ถ้าท้องผูกเลือดจะออกมากยิ่งขึ้น

  ระยะที่ 2

อาการมากขึ้น หัวริดสีดวงทวารโตมากขึ้นเริ่มโผล่ออกมาพ้นทวารหนักแล้วพอควร เวลาเบ่งอุจจาระจะออกมาให้เห็นมากขึ้น แต่เวลาถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วจะหดกลับเข้าไปภายในทวารหนักได้เอง

  ระยะที่ 3

อาการรุนแรงมากยิ่งขึ้นเวลาถ่ายอุจจาระหัวริดสีดวงทวารจะโผล่ออกมามากกว่าเดิม หรือเวลาจาม ไอ ยกสิ่งของหนัก ๆ ที่ความเกร็ง เบ่งในท้องเกิดขึ้น หัวริดสีดวงทวารจะออกมาข้างนอกทวารหนักแล้วก็กลับเข้าที่เดิมไม่ได้ ต้องเอานิ้วมือดัน ๆ เข้าไปถึงจะเข้าไปอยู่ภายในทวารหนักได้

  ระยะที่ 4

ริดสีดวงกำเริบมาก โตมากขึ้น มองเห็นได้จากภายนอกอย่างชัดเจน เกิดอาการบวม อักเสบ อาการแทรกซ้อน รุนแรงมาก มีเลือดออกมาเสมอ อาจมีน้ำเหลือง เมือกลื่น และอุจจาระก็ยังตามออกมาอีกด้วยทำให้เกิดความสกปรกและมีอาการเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา อาจเกิดอาการคันร่วมด้วย บางทีอาจเน่าและอักเสบมากยิ่งขึ้น การติดเชื้อโรคเป็นไปได้ง่าย และเมื่อเลือดออกมาเรื่อย ๆ จะเกิดอาการซีด มีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลดลงจะเกิดอาการหน้ามืด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดริดสีดวงทวาร

  รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย
  ภาวะท้องผูกเรื้อรัง ทำให้ต้องเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นประจำ แรงเบ่งจะทำให้เกิดการเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดโป่งพอง หรือหลอดเลือดขอดได้ง่าย
  ท้องเดิน ท้องเสียเรื้อรัง การถ่ายอุจจาระบ่อย ๆ แรงเบ่งจะเป็นการเพิ่มความดัน
  อุปนิสัยในการเบ่งอุจจาระ เช่น ชอบเบ่งอุจจาระแรง ๆ
  การเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นเวลานาน เช่น นั่งเล่นโทรศัพท์มือถือขณะขับถ่าย รวมถึงการ การยืน หรือเดินเป็นเวลานาน ๆ
  การชอบใช้ยาสวนอุจจาระ หรือยาระบายอย่างพร่ำเพรื่อ
  ภาวะตั้งครรภ์ เพราะน้ำหนักของครรภ์จะกดทับบนกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด ทำให้คั่งอยู่ในหลอดเลือด
  น้ำหนักตัวมาก หรือโรคอ้วน มีผลให้แรงดันในช่องท้องและในอุ้งเชิงกรานเพิ่มสูงขึ้น เลือดจึงคั่งในกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดได้
  ผู้สูงอายุมักจะมีการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ รวมทั้งความเสื่อมของกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด จึงทำให้หลอดเลือดโป่งพองได้ง่ายกว่าปกติ
  การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ทำให้เกิดการกดเบียดทับหรือเกิดการบาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดเรื้อรัง ทำให้เลือดคั่งอยู่ในหลอดเลือด จึงเกิดหลอดเลือดโป่งพองได้ง่าย
  อาการไอเรื้อรัง มีผลเพิ่มแรงดันในช่องท้อง
  ไม่มีลิ้นปิดเปิด (วาวล์) ในหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นความผิดปกติแต่กำเนิดที่ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด อาจทำให้เกิดภาวะเลือดคั่งภายในหลอดเลือดและหลอดเลือดโป่งพองได้ง่าย
  ริดสีดวงทวารหนัก อาจพบร่วมกับโรคในช่องท้องอื่น ๆ เช่น ก้อนเนื้องอกในท้อง เนื้องอกมดลูก เนื้องอกหรือถุงน้ำรังไข่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ ต่อมลูกหมากโต ตับแข็ง หากพบว่ามีเลือดออกนานกว่า 1 สัปดาห์ หรือพบในคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ควรเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาล
  ไม่ทราบสาเหตุ หรืออาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม โดยพบว่าผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นริดสีดวงทวารหนัก จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูงกว่าคนปกติทั่วไป

การป้องกันริดสีดวงทวาร
  กินอาหารที่มีกากใยสูง เพื่อให้อุจจาระอ่อนนิ่ม ขับถ่ายง่าย
  ไม่เบ่งเวลาขับถ่าย เพื่อป้องกันการเร่งความดันในลำไส้
  นั่งเเช่น้ำอุ่น 2-3 ครั้งต่อวัน
  กินยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการ
  ใช้ครีมที่มีสารไฉโดรคอร์ติโซน
  ออกกำลังกาย ช่วยให้ลำไส้ขยับบีบตัวบ่อยขึ้น

วิธีดูแลตัวเอง 
เลือกทานโพรไบโอติก ตัวช่วยปรับสมดุลลำไส้ ทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้นไม่ต้องนั่งเเช่ในห้องน้ำนานๆให้เสี่ยงเป็นริดสีดวงอีก เพียงทาน BioSyn วันละ 1 แคปซูล ก็สามารถทำให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ 

BioSyn ซินไบโอติกเจ้าแรกในไทยที่รวมเอาจุลินทรีย์ดีกว่า 15 สายพันธุ์ ‼ บรรจุโพรไบโอติกร่วมกับพรีไบโอติก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลลำไส้ให้กับคุณ ด้วยนวัตกรรมการผลิตเฉพาะของ BioSyn ที่อาหนิงคัดสรรมาด้วยตัวเอง ผ่านการยอมรับจากสถาบันวิจัยระดับโลก อย่าง SYNTEK  ทำให้ได้โพรไบโอติกคุณภาพเยี่ยม สามารถทนต่อสภาวะกรด - ด่าง ในทางเดินอาหารได้อย่างดี แค่เพียง 1 แคปซูล ก็มีโพรไบโอติกถึง 20 Billion CFU  ซึ่งเพียงพอต่อการช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ เมื่อลำไส้ดี ก็ทำให้เชื้อโรคต่างๆ ไม่สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่ายอีกด้วย อีกทั้งยังมั่นใจในความปลอดภัยเนื่องจาก BioSyn ของเรามีใบรับรองจาก อ.ย. เเละผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐานระดับ GMP และ ISO 22000 ปลอดภัยมั่นใจได้เลยค่ะ เริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดี เริ่มต้นที่ลำไส้ ใช้ผลิตภัณฑ์ BioSyn นะคะ

  รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญฟรี
Line : https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
Inbox : m.me/BioSynThailand
Youtube : https://bit.ly/3Fyj83C

เรียบเรียง : BioSyn Thailand
เครดิต : Dr. Gregory Thorkelson แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
https://shorturl.asia/59I76
https://shorturl.asia/xK9np
https://shorturl.asia/4EJUs
https://shorturl.asia/1UWGY

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้